เวลาแขวนทำอย่างไร
ตุงไชยดดยมากใช้แขวนบนค้างทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้ไผ่ซาง
ทำค้างยื่นออกจากปลายยาวประมาณ 1 เมตร สำหรับเป็นที่แขวนตุงไชย
การปักตุงไชยนิยมทำที่ใด
ตุงไชยหลังจากที่ได้นำมายังวัดแล้ว จะนำไปถวายแด่พระสงฆ์ท่านตอนที่จะมีงานปอยหลวง ประมาณ 3-5 วัน
พระสงฆ์
ท่านจะให้พรเป็นรายๆไป จากนั้นก็จะนำไปฝังค้าง และแขวนตุงไชย ส่วนมากจะแขวนเรียงรายไปตามทางที่ครัวทาน
จะผ่าน หรือ
ทางสัญจรเข้าวัด ถ้ามีตุงไชยมาก็จะเรียนกันไปยาว นับเป็นกิโลเมตรทีเดียว
การที่นำ ตุงไชย มาปัก เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้อง
ผู้ล่วงลับ นอกจากปักไว้สองข้างทางเข้าวัดแล้ว ยังมี การประดับประดาไว้รอบ ศาลาธรรม
ที่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น งานเฉลิมฉลอง ถาวรวัตถุ ของวัดวาอาราม ในงานปอยหลวง งานประเพณียี่เป็ง งานตั้งธรรมหลวง (ฟังเทศน์มหาชาติ) เป็นต้น เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ถือว่าได้บุญกุศลอย่างแรง และ เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ซึ่งคติความเชื่อของผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าสืบ ๆ กันมาว่า ใครได้ทานตุงไชย นี้เมื่อตายไป จะได้ไปไหว้ พระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ แม้ไปตกนรก ชายตุงนี้จะไปกวัดแกว่งให้ ดวงวิญญาณ ได้เกาะขึ้นพ้นจากขุมนรก
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตุงล้านนา ให้ข้อคิดว่า สาเหตุที่เรียก ตุงไชย นี้ ในอดีต เราใช้ตุงไชย เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งกองทัพ เมื่อรบได้ชัยชนะแก่ข้าศึก หากมีคนส่งข่าว หรือ ที่เรียกกันว่า คนสอดแนม เห็นตุงนี้ ปักไว้ที่ไหน แสดงว่า กองทัพได้รับชัยชนะ จากข้าศึกแล้ว จึงเรียก ตุงชนิดนี้ว่า ตุงไชย (ธงชัย) แต่ในปัจจุบันนี้ ใช้เฉพาะงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ตุงไชย จะใช้ผ้าสีอะไรก็ได้ เว้นแต่สีดำ เพราะ ถือว่า เป็นสีอวมงคล การตกแต่งประดับประดา มักจะใช้กระดาศเงินกระดาษทอง ตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ประดับประดา และ มีลูกปัดลูกแก้ว ประดับแพรวพราว ทั้งนี้ ผู้ที่ทำหวังอานิสงส์ผลบุญ เมื่อให้ทานไปแล้ว จะเกิดปิติปราโมทย์ ส่วนคันตุง หรือ ด้ามตุง จะใช้ไม้ไผ่บง ไม้ซาง (หรือ ไม้ไผ่สีสุก) ไม้ไผ่รวก ทั้งลำทั้งต้น (สุดเก๊าสุดปล๋าย) เมื่อมีงานมงคล จะเห็นปักไว้ในที่ต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันทำ ตุงไชย มาปักเรียงราย ตามสองข้างทาง ที่จะเข้าสู่วัด เช่น งานปอยหลวง เป็นต้น
นอกจาก ตุงไชย จะใช้แสดงถึงสัญลักษณ์ของงานปอยหลวง และ พิธีกรรมมงคลแล้ว อีกตำแหน่งหนึ่งที่นิยมใช้ เป็นที่แขวนตุงไชย คือ หน้าพระประธาน ในวิหาร หรือ โบสถ์ เป็นตุงบูชา เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า และ อธิษฐานจิต ขอให้ผลบุญที่ได้ช่วยเกื้อหนุน ให้เจ้าของตุงได้ถึงซื่งพระนิพพาน คือ ความสุขสุดยอดของชาวพุทธ โดยเร็ว อันจะเป็นการหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร รูปแบบของตุงนี้ เท่าที่ข้าพเจ้าพบเห็น ในแต่ละท้องถิ่น มีหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป สุดแล้วแต่สล่า (ช่าง) เป็นผู้ทำตุง จะคิดประดิษฐ์ขึ้น มีหลายชนิด ทั้งเป็นผ้าทอสลับสี ที่มีลวดลายในตัว หรือ ผ้าทอสีเดียว ยาวทั้งผืน ตกแต่งด้วยกระดาษสี กระดาษเงิน กระดาษทอง หรือ เป็นผ้าลูกไม้ ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ สมัยใหม่ทั้งผืน มีการใช้สิ่งวัสดุจากธรรมชาติ ในการประดับตกแต่ง ด้วยการใช้เม็ดเดือย และ ใบลาน ตัดเป็นรูปเรียว ความเป็นสังคมสมัยใหม่ ของชาวบ้านท้องถิ่น ตามจินตนาการของสล่า (ช่าง) ทำตุงแต่ละคน ที่พบเห็น บ้างก็ร้อยเม็ดเดือย เป็นเส้นยาวต่อกัน คล้ายกับหางสะเปาที่ชาย บ้างก็ใช้กระดาษพับให้เป็นทบทับ ๆ กัน นำมาร้อยเป็นเส้นยาวโยงที่ชายด้านกว้าง จากซ้ายไปขวา หรือ ที่แปลกไปกว่านั้น คือ การใช้กระดาษพันเป็นกรวย แล้วม้วนสำลีเป็นก้อนกลม ๆ หลาย ๆ ก้อนใส่ลงไปในกรวย เหมือนไอศครีมโคน แล้วนำไปติดที่ชายทั้งสองด้าน
|